วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

พุทธศาสนาในประเทศไทยสมัยต่างๆ ๑

พุทธศาสนาในประเทศไทยสมัยต่างๆ ๑

ยุคเถรวาทแบบสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
ตั้งแต่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๓ ณ เมืองปาฏลีบุตร ได้ส่งพระเถระไปยังที่ต่าง ๆ ๙ สาย ส่งไปดินแดนสุวรรณภูมิพร้อมคณะ ประกอบด้วย พระโสณะ พระอุตตระ พระฌานิยะ พระมุนียะ และสามเณร อุบาสก อุบาสิกา ร่วมคณะ ๓๘ รูป / คน

ยุคมหายาน
การทำสังคายนาครั้งที่ ๔ พระเจ้ากนิษกะมหาราชทรงอุปถัมภ์ฝ่ายมหายาน ได้ส่งพระสงฆ์ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเอเชียกลางและที่ต่าง ๆ พระเจ้ามิ่งตี่ทรงนำเอาพระพุทธศาสนาเข้ามายังจีนเชื่อมมาถึงกลุ่มคนไทยที่อยู่อาณาจักรอ้ายลาว ในตอนใต้ของไทย ช่วง พ.ศ. ๑๕๕๐ กษัตริย์แห่งกัมพูชาในราชวงศ์สุริยวรมันเรืองอำนาจ ได้มาตั้งเมืองละโว้หรือลพบุรีเป็นเมืองหลวง มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามหายาน สมัยนั้นพระพุทธศาสนามหายานกับพราหมณ์ได้ผสมผสานกันแทบจะแยกไม่ออก

ยุคเถรวาทแบบพุกาม
กษัตริย์แห่งพุกาม คือพระเจ้าอนุรุธมหาราช ทรงเลื่อมใสพระพุทธศาสนามหายาน ทรงทำนุบำรุงเผยแผ่พระศาสนาด้วยพระราชศรัทธา เรียกพระพุทธศาสนาในยุคนี้ว่า “เถรวาทแบบพุกาม”

ยุคเถรวาทแบบลังกาวงศ์
พ่อขุนรามคำแหงขยายขอบเขตไปถึงอาณาจักรตามพรลิง (นตรศรีธรรมราช) ได้นำเอาพระพุทธศาสนาแบบลังกานี้ขึ้นมายังกรุงสุโขทัย พระพุทธสาสนาแบบลังกาวงศ์รุ่งเรืองแต่บัดนั้นมา

พระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย
ก่อนการสถาปนากรุงสุโขทัยนั้น ภูมิภาคนี้มีศาสนาต่าง ๆ หลายลัทธินิกายทั้งศาสนาชาวพื้นเมืองเดิม ศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธมหายาน และศาสนาพุทธหินยาน ที่สืบสมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๖) และลพบุรี (พุทธศตวรรรษที่ ๑๖ – ๑๘)

สมัยพ่อขุนรามคำแหงกษัตริย์องค์ที่ ๓ ได้อาราธนาพระสงฆ์ชาวลังกาที่อาศัยอยู่อาณาจักรตามพรลิงค์ขึ้นไปตั้งวงศ์ที่กรุงสุโขทัย สมัยพระเจ้าลิไท พระพุทธศาสนาในอาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองขีดสุด คณะสงฆ์แบ่งเป็น ๒ คณะ ได้แก่ คณะคามวาสีและคณะอรัญวาสี พระพุทธศาสนาเป็นปัจจัยหลักให้เกิดความเจริญและพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา ด้านศิลปะ ด้านพุทธศิลป์ ด้านวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ

พระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
พระพุทธศาสนาสมัยพระเจ้ามังรายเป็นเช่นเดียวกับอาณาจักรสุโขทัยช่วงต้นคือมีหลากหลายลัทธินิกาย สมัยพระเจ้ากือนา(ตื้อนา) รับเอาพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทมาจากสุโขทัย รุ่งเรืองอย่างมาก ในยุคพระเจ้าติโลกราชมีการทำสังคายนาขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ปรากฎพระสงฆ์ที่เป็นปราชญ์มีชื่อเสียงสร้างสรรค์วรรณคดีพระพุทธศาสนาสมัยล้านนาหลายรูป เช่น พระสิริมังคราจารย์ พระรัตนปัญญา เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น