ดินแดนชมพูทวีปพุทธประวัติ และกำเนิดพุทธศาสนา
สังคมชมพูทวีปก่อนพุทธกาล
๑) สมัยอารยันเข้าสู่อินเดีย
๒) สมัยอารยันเข้าสู่ชมพูทวีป
๓) สมัยพระเวท
๔) สมัยพราหมณ์
๕) สมัยอุปนิษัท
๑) สมัยอารยันเข้าสู่อินเดีย (๒,๐๐๐ - ๑,๕๐๐ ปีก่อน พ.ศ.)
ชนชาติอารยันเป็นชนผิวขาว รวมตัวเป็นกลุ่มที่แถบเขาคอเคซัส ทะเลสาบแคสเปี้ยน มีขนบธรรมเนียมประเพณีลัทธิวัฒนธรรมและภาษาเหมือนกัน มีการเคารพเทพเจ้าหลายองค์ เชื่อว่าวิญญาณคนที่ตายยังมีภพอยู่เบื้องบน จึงทำให้เกิดลัทธิบูชายัญขึ้น
๒) สมัยอารยันเข้าสู่ชมพูทวีป (๑,๕๐๐ - ๘๐๐ ปีก่อน พ.ศ.)
ต่อมาชาวอารยันที่เข้ามานั้นได้แตกเป็นสองกลุ่มใหญ่
กลุ่มแรก อพยพเข้าไปทางยุโรป เป็นชาวกรีก ลาติน
กลุ่มที่สอง อพยพมาทางเอเชีย เป็นชาวเปอร์เซีย อินเดีย
ในปัจจุบันชนชาติอารยันที่เข้าสู่อินเดียได้นำเอาลัทธิความเชื่อดั้งเดิมของตนมาด้วย อารยันกลุ่มที่เข้ามายังชมพูทวีป ได้รุกไล่พวกดราวิเดียน ซึ่งอยู่มาก่อนให้ถอยร่นไปทางใต้ของอินเดีย ขณะเดียวกันก็เกิดผสมทางเกิดวัฒนธรรมในเวลาต่อมา
๓) สมัยพระเวท (๘๐๐ - ๓๐๐ ปีก่อน พ.ศ.)
พระเวทแปลว่า "ความรู้" เป็นคัมภีร์ทางศาสนาพราหมณ์ ได้แก่
ฤคเวท บทสวดสรรเสริญเทพเจ้า
สามเวท บทสวดอ้อนวอนในวิธีบูชายัญต่าง ๆ
ยชุรเวท บทเพลงขับสำหรับสวดหรือร้องเป็นทำนองบูชายัญ
อาถรรพเวท ว่าด้วยอาคมทางไสยศาสตร์
๕) สมัยอุปนิษัท (๑๕๐ - ๕๐ ปี ก่อน พ.ศ.)
อุปนิษัท เป็นคัมภีร์หนึ่งของศาสนาพราหมณ์ หมายถึง ปลายแห่งยุคพระเวท หรือยุคเวทานตะเป็นยุคแสวงหาความหลุดพ้น ยุคนี้ได้แก้ไขอธิบายวางหลักเกณฑ์ของศาสนาพราหมณ์ใหม่ แนวปฏิบัติยุคอุปนิษัท คือ
๑) การปฎิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
๒) การบำเพ็ญพรต
๓) การแสวงหาความหลุดพ้นด้วยปัญญา
สมัยนี้เกิดลัทธิหลายอย่าง เช่น ลัทธิจารวาก ลัทธิทรมานตน ครูทั้ง ๖ ได้แก่ ปูรณะกัสปะ มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร และนิครนถ์นาฏบุตร หลักฐานทางพระพุทธศาสนากล่าวถึง ๖๒ ลัทธิ
การอุบัติขึ้นและพัฒนาการแห่งพระพุทธศาสนา
ยุคอุปนิษัทนี้ได้มีการแสวงหาค้นคว้าสัจธรรมกันมากกว่าสมัยพราหมณ์ สมัยพุทธกาลเป็นการเริ่มต้นประวัติศาสตร์ที่เจริญรุ่งเรือง เจ้าชายสิทธัตถะราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะแห่งเมืองกบิลพัสดุ์ ในวัยเด็กศึกษาเจนจบศิลปะศาสตร์ ๑๘ แขนง อภิเษกสมรสกับพระนางสิริมหามายาแห่งเมืองเทวะทหะ มีพระโอรส ๑ พระองค์ คือ พระราหุล
ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา เสด็จออกบวชแสวงหาสัจธรรม ใช้เวลาฝึกปฏิบัติอย่างเข้มงวดเป็นเวลา ๖ ปี จึงได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ออกประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนา จนเสด็จดับขันธปรีนิพพานเมื่อพระชนมายุ ๘๐ พรรษา
ความสำคัญ
- ปฏิเสธอำนาจแห่งเทพเจ้า
- เชื่อกฏแห่งกรรม
- ให้เสรีภาพทางความคิดไม่ผูกขาดโดยผู้ใดผู้หนึ่ง
- ปฏิเสธวรรณะ เชื่อในศักยภาพของมนุษย์
- ใช้หลักมัชฌิมาปฏิปทา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
- ปฏิเสธการบูชายัญ
ลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นท่ามกลางลัทธิ ศาสนาทั้งหลายของอินเดียเป็นศาสนาที่ไม่ได้มีรากฐานมาจากฤทธิ์เดช ปาฏิหาริย์ แต่เป็นศาสนาที่มีเหตุผลและคุณงามความดีที่เห็นได้จริง เป็นตัวอย่างประชาธิปไตยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ให้เสรีภาพให้มนุษย์คิด มีหลักการและพิธีการที่ทันสมัยมาจนถึงปัจจุบัน เป็นศาสนาที่ส่งเสริมสิทธิมนุษย์ชน ไม่ให้ดูหมิ่นเหยียดหยามกันเรื่องวรรณะ ให้ถือเรื่องศีลธรรม เป็นเครื่องวัดคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ปฏิวัติเรื่องการทำบุญจากเรื่องการฆ่าสัตว์หรือ มนุษย์เพื่อบูชายัญ ให้สงเคราะห์คนอื่น กล้าเผชิญความจริง สอนให้รู้จัก เกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น