พุทธศาสนามหายาน
กำเนิดและพัฒนาการของพระพุทธศาสนามหายาน
เริ่มต้นพุทธศตวรรษที่ ๖ พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียเริ่มมีพัฒนาการแตกต่างไปจากเดิมเรียกว่าเป็นพุทธศาสนาแนวใหม่ คือ มหายาน การเกิดขึ้นของมหายาน เริ่มต้นจาก ๒ จุดใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ
แห่งที่ ๑ บริเวณภาคใต้ของอินเดีย ได้แก่ แคว้นอันธระ ตรงนี้ให้กำเนิดพระพุทธศาสนามหายานประเภทปัญญาธิกะ
แห่งที่ ๒ บริเวณภาคเหนือของอินเดียที่แคว้นคันธาระ และกาศมีระ พระพุทธศาสนาจุดนี้ให้กำเนิดพระพุทธศาสนามหายานประเภทศรัทธาธิกะ มีประเพณีบูชาขอพึ่งบารมีพระโพธิสัตว์ เป็นพระพุทธศาสนามหายานนิกายโยคาจารย์
สาเหตุให้เกิดพระพุทธศาสนามหายาน
เกิดจากความวิบัติแห่งทิฏฐิสามัญญตา
เกิดจากความวิบัติแห่งศีลสามัญญตา
เกิดจากพระบุคลิกภาพของพระพุทธเจ้า
เกิดจากแรงกดดันของศาสนาพราหมณ์
มหายานเกิดขึ้นจากพุทธบริษัทคฤหัสถ์
ความแตกต่างระหว่างพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน
เถรวาท ถือว่าความเป็นพระอรหันต์เป็นสิ่งสูงสุดเป็นอุดมคติและจุดมุ่งหมายในการประพฤติความดีต่าง ๆ
มหายาน ถือว่าการเข้าถึงภาวะแห่งโพธิสัตว์เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นนั้นสูงกว่าพระอรหันต์
เถรวาท เน้นให้พุทธศาสนิกชนพึ่งตนเอง ถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นเพียงผู้ชี้ทางเท่านั้น
มหายาน ถือว่าชาวโลกมีภาระยุ่งเกินไป ไม่มีเวลาพอที่จะขวนขวายเพื่อความหลุดพ้นของตนได้ จึงต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่น ดังนั้น ทรรศนะทางมหายานจึงมีพระมหากรุณาของพระพุทธเจ้านั้นสามารถช่วยให้ผู้อื่นหลุดพ้นได้ด้วย
พระเจ้ากนิษกะมหาราชกับพระพุทธศาสนา
พระเจ้ากนิษกะมหาราชทรงมีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนานิกายมหายานเหมือนกับพระเจ้าอโศกมหาราชที่มีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาเถรวาท พระองค์เป็นผู้อุปถัมภ์ในการทำสังคายนาครั้งที่ ๔ ของนิกายมหายาน ส่งเสริมการศึกษาของคณะสงฆ์ โดยให้พระสงฆ์เข้าศึกษาใน "นาลันทามหาวิหาร" ต่อมาเป็นมหาวิทยาลัยนาลันทา เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก
ในยุคนี้เกิดมหาวิทยาลัยทางพระพุทธศาสนาขึ้นหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยนาลันทา โสมปุระ ชาคัทระ วรภี วิกรมศิลา เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น