วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

หลักพื้นฐานความเชื่อของมนุษย์และการเกิดศาสนา

หลักพื้นฐานความเชื่อของมนุษย์และการเกิดศาสนา
         พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายของคำว่า ศาสนา ไว้ว่า
ศาสน, ศาสนา [สาสะนะ, สาดสะนะ, สาดสะหฺนา] น. ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือแสดงกําเนิดและความสิ้นสุดของโลกเป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทําตามความเห็นหรือตามคําสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ. (ส. ศาสน ว่า คําสอน, ข้อบังคับ; ป. สาสน).

     ศาสนา คืออะไร ศาสนา หมายถึง คำสั่งสอน คำสั่งสอนที่จะนับได้ว่าเป็นศาสนา๑ นั้นจะต้องประกอบไปด้วยหลักสำคัญดังต่อไปนี้:- 
     ๑. ศาสดา
     ๒. ศาสนธรรม
     ๓. ศาสนพิธี
     ๔. ศาสนบุคคล
     ๕. ศาสนสถาน
     ๖. ศาสนิกชน
     ๗. การกวดขันเรื่องความจงรักภักดี

คุณค่าของศาสนา
     ๑. เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ คือเป็นที่พึ่งทางใจ ทำให้มนุษย์ไม่รู้สึกอ้างว้างว้าเหว่จนเกินไป 
     ๒. เป็นบ่อเกิดแห่งความสามัคคีของหมู่คณะ รวมไปถึงความสามัคคีในหมู่มนุษย์ชาติ ทั้งมวล 
     ๓. เป็นบ่อเกิดแห่งการศึกษาทั้งในด้านพุทธิศึกษา จริยศึกษา 
     ๔. เป็นบ่อเกิดแห่งจริยธรรม ศีลธรรม และคุณธรรม 
     ๕. เป็นบ่อเกิดแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามทั้งหลาย 
     ๖. เป็นเครื่องดับความเร่าร้อนทางใจ ทำให้ใจสงบเย็น 
     ๗. เป็นดวงประทีปส่องโลกที่มืดมิดด้วยอวิชา ให้สว่างไสวด้วยวิชา 
     ๘. เป็นสิ่งที่แยกมนุษย์ออกจากสัตว์ เพราะว่าสัตว์ไม่มีศาสนา 

มูลเหตุของการเกิดศาสนา
     ๑. เกิดจากความไม่รู้ (อวิชชา) 
     ๒. เกิดจากความกลัว 
     ๓. เกิดจากความจงรักภักดี 
     ๔. เกิดจากความอยากรู้เหตุผล (ปัญญา) 
     ๕. เกิดจากอิทธิพลของคนสำคัญ 
     ๖. เกิดจากลัทธิการเมือง

ประโยชน์และความสำคัญของศาสนา
ประโยชน์ของศาสนาสำหรับปัจเจกชน 
     ๑. ทำให้คนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิต และบุคลิกดี 
     ๒. ส่งเสริมสติปัญญา ความเฉลียวฉลาด ความรอบรู้ของบุคคลในเรื่องชีวิต และการแก้ปัญหาชีวิต 
     ๓. ข้อห้ามศาสนาเป็นสิ่งที่ควบคุมความประพฤติของบุคคลไม่ให้ทำชั่วแม้อยู่ใน ที่ลับตาคน 

ความสำคัญของศาสนาสำหรับปัจเจกชน 
      ๑. ศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจ เป็นพลังใจของมนุษย์ ช่วยยกระดับจิตใจของมนุษย์ให้สูงขึ้น
   ๒. ศาสนาเป็นแนวทางปฏิบัติของบุคคลเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในสิ่งที่ตนเองปรารถนา และแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต

ประโยชน์ของศาสนาต่อสังคม 
     ๑. ศาสนาได้วางหลักเกณฑ์แบบแผนในการประพฤติปฏิบัติในส่วนที่เป็นศีลธรรมและ จริยธรรม อันนำมาซึ่งความสามัคคีและความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันของกลุ่มในสังคม 
      ๒. ศาสนาเป็นสถาบันที่สามารถสร้างสันติภาพและคุ้มครองสังคมโลกได้ 
     ๓. ศาสนาเป็นสถาบันที่ส่งเสริมและสร้างสรรค์ศิลปะวัฒนธรรมให้แก่สังคม 

ความสำคัญของศาสนาต่อสังคม 
     ๑. ระดับครอบครัว ศาสนามีข้อปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติตามทำให้ครอบครัวมั่นคงเป็นปึกแผ่น เป็นครอบครัวที่อบอุ่น 
      ๒. ระดับชุมชน ศาสนาช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมนุษย์ สร้างความสามัคคีในชุมชน และสร้างความสงบสุขให้แก่ชุมชน 
   ๓. ระดับชาติ ศาสนาเป็นสัญลักษณ์และเป็นเอกลักษณ์ของชาติ มีอิทธิพลต่อชีวิตของบุคคลในชาติ    ๔.ระดับโลก ศาสนาเป็นมรดกอันล้ำค่าของมนุษยชาติ เป็นวิถีทางสุดท้ายแห่งความอยู่รอดของมนุษยชาติ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น